
โครงการวิจัย เรื่อง “กลไกการพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภาคการขนส่ง ภาคการเดินทาง และภาคการเกษตรระดับท้องถิ่นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ”
- ภายใต้แผนงานย่อย N22 (S2P13) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษและยกระดับความมั่นคงและคุณภาพชีวิตเมืองชายแดน
- แผนงาน 13 (S2) พัฒนาเมืองน่าอยู่และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ทุกภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 (S2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัว ได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม
เป้าหมาย (Objective)
O1 P13: พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ทุกภูมิภาค ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี เมือง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งพื้นที่ทดลองนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Sandbox) โดยเมืองน่าอยู่มุ่งเน้นผลสำเร็จของการพัฒนาตาม 5 มิติ (มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติความสงบสุขและความปลอดภัย และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา) ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ-หลัก (Key Result)
KR3 P13: จำนวนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษที่มีมูลค่าสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (3 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในช่วงปี 2566–2570)
คำสำคัญ (Keywords)
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (the Special Economic Corridor,), คลัสเตอร์ยานยนต์ไฟฟ้า (Cluster of Electric Vehicle), ห่วงโซ่คุณค่ายานยนต์ไฟฟ้า (EV Value Chain), กลไกการจัดการกลุ่มธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV Mechanism of Cluster Management), การพัฒนานิเวศยานยนต์ไฟฟ้าท้องถิ่น (EV Localization)
ดำเนินโครงการโดย
หน่วยวิจัยศูนย์นวัตกรรมและการพัฒนาเมือง (CUID: Center of Urban Innovation Unit)
สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน